เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 65 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ครั้งที่ 7/2565
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงภายหลังการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอให้ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์ติดเชื้อโควิด-19 ของทั่วโลก เห็นภาพของการผ่อนคลาย ที่ค่อยๆ ประกาศออกมา
“โดยยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันที่ 22 เมษายน รวม 21,808 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 21,717 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 91 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,904,603 ราย ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 หายป่วยกลับบ้าน 19,826 ราย หายป่วยสะสม 1,741,244 ราย ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 ผู้ป่วยกำลังรักษา 190,780 ราย เสียชีวิต 128 ราย จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,985 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 913 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 25.3 สำคัญอยู่ที่อัตราการเสียชีวิต ถ้าจะเข้าสู่การเปิดโรคประจำถิ่นต้องต่ำกว่า 0.1”
“ตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 0.31 ซึ่งยังเป็นตัวเลขที่ยังสูง ทั้งนี้ เมื่อดูสถานการณ์ติดเชื้อของไทย มีการติดเชื้อลดลง การเสียชีวิตมีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อย เป็นตัวเลขที่ต้องมาวิเคราะห์ อย่างไรก็ตามภาพรวมการจะประกาศเป็นโรคประจำถิ่น จะดูอัตราการเสียชีวิตต้องน้อยกว่า 0.1 ต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ติดต่อกัน”
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมเห็นชอบปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ และการปรับมาตรการป้องกันโรคแบบบูรณาการ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ให้เหลือเฉพาะพื้นที่สีเหลืองและสีฟ้า ส่วน พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) จากเดิม 20 จังหวัดไม่มีแล้วเหลือ 0
เพิ่มพื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) จากเดิม 47 จังหวัด เป็น 65 จังหวัด คือ ตาก นครนายก นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์พระนครศรีอยุธยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก ระนอง ราชบุรี สงขลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี อุดรธานี อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพรเชียงราย ตรัง ตราด นครพนม นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน บึงกาฬ ปราจีนบุรี ปัตตานี พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อำนาจเจริญ อุทัยธานี อุบลราชธานี
ส่วนพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) เพิ่มเป็น 12 จังหวัด จากเดิม 10 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี กระบี่ ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต โดยจังหวัดที่เพิ่มคือ ระยองและสงขลา
สำหรับมาตรการป้องกันพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวและพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด ให้คงมาตรการป้องกันควบคุมแบบบูรณาการ ปรับมาตรการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร หรือสถานที่มีลักษณะเดียวกัน จากไม่เกิน 23.00 น. เป็นไม่เกิน 24.00 น. แต่ยังไม่อนุญาตให้เปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะเต็มรูปแบบ แต่ให้ปรับไปเป็นลักษณะร้านอาหารได้
©2018 CK News. All rights reserved.