เทคนิคการแพทย์ ชี้ ! "ATK" ไม่จำเป็นต้องมาตรฐาน WHO ถูกใช้มากยิ่งควบคุมโควิดได้เร็ว


24 ส.ค. 2564, 09:28

เทคนิคการแพทย์ ชี้ ! "ATK" ไม่จำเป็นต้องมาตรฐาน WHO ถูกใช้มากยิ่งควบคุมโควิดได้เร็ว




เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทนพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์ นายกสมาคมเทคนิคการแพทย์ กล่าวถึงกรณีการใช้ชุดตรวจแอนติเจน เทสต์ คิท (ATK) มาตรฐานของ องค์การอนามัยโลก (WHO) ว่า มาตรฐานในการจัดหาจุดตรวจ ATK นั้น ในต่างประเทศ ไม่ได้มองเรื่องของมาตรฐานองค์การอนามัยโลกเป็นเกณฑ์ เพราะการจะนำไปใช้ในประเทศนั้นๆ ต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานของประเทศของตนเอง ไม่มีประเทศไหนในโลกที่มายึดเกณฑ์ของประเทศอื่น อย่างของไทย ก็มีมาตรฐาน อย. ซึ่งผ่านเกณฑ์ถึงจะนำเข้าได้ การตรวจสอบก็ไม่ได้แค่เอกสารแต่ยังมาตรฐานสอบกับแล็บของโรงเรียนแพทย์ด้วย เพื่อดูว่าตรงตามที่เอกสารหลักฐานของบริษัทอ้างอิงมาจริงหรือไม่ ในบรรดาชุดตรวจทั้งหมด ชุดที่ต้องการความแม่นยำมากที่สุด คือ ชุดตรวจเชื้อ HIV ไม่ใช่ชุดตรวจโควิด-19
 



ทนพ.สมชัย กล่าวว่า ชุดตรวจ ATK นั้น ได้มีการกำหนดไว้แล้ว ว่า ต้องมีความไว 90% ความไวจำเพาะ 98% ซึ่งหมายถึงเกิดความผิดพลาดหรือบวกลวง แค่ 2 เท่านั้น ถือว่าเป็นมาตรฐาน แล้ว ไม่มีมาตรฐาน ATK ไหน แม่นยำ 100% และการที่ไม่ได้จำเพาะว่าต้องเป็นมาตรฐานองค์การอนามัยโลก ก็เพื่อการเปิดกว้างทางการค้า ในการซื้อหา ทำให้ปัจจุบัน มีชุดตรวจ ATK เข้า มาในไทย มากถึง 30 กว่ายี่ห้อ

หากจำกัดแค่ ต้องมีการรับรองขององค์การอนามัยโลก คงทำให้เหลือเพียงไม่กี่ยี่ห้อในท้องตลาด ไม่เกิดกการแข่งขันทางราคา อย่างนี้ก็ไม่ต้องมีขายกันแล้ว เดิมเคยมีการหารือกันถึงการควบคุมราคา ATK เพราะไม่อยากให้ราคาแพงมาก เนื่องจากสถานการณ์ตอนแรก ระบาดหนัก ราคาอยู่ที่ 200-300 บาท แต่เมื่อเวลานี้ กลับเริ่มมีราคาถูกลง เพราะมีราคายี่ห้อ โดยอาศัยเรื่องกลไกการตลาด


ทนพ.สมชัย กล่าวว่า มาตรฐานที่ระบุเรื่องการรับรององค์การอนามัยโลกของ ATK ก็เพื่อใช้ในการซื้อขายเพื่อบริจาคใช้ในประเทศห่างไกลทุรกันดาน และไม่ได้เป็นการการันตีว่าชุดตรวจนี้ดีที่สุดกว่าชุดอื่น การตรวจ ATK ใช้ในการตรวจคนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ 1 คน ต้องตรวจมากถึง 2-3 ครั้ง เริ่มจาก 0 วัน , วันที่ 5 และวันที่ 14 เพื่อความมั่นใจ ว่าไม่ติดเชื้อ เพราะต้องตรวจบ่อย ในอนาคตจะมีการเปิดประเทศ ATK ที่ใช้ตรวจสำหรับประชาชนมีความสำคัญ เพราะภาคอุตสาหกรรมจะต้องนำมาใช้เพื่อการ บับเบิ้ลแอนด์ซิล หากมีราคาแพงก็คงไม่ต้องซื้อกัน ธุรกิจและเศรษฐกิจก็ไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้ ฉะนั้นคุณภาพและราคาต้องมีความเหมาะสม

คนที่อยากได้ชุดตรวจแบบนี้ แบบนี้ ก็ต้องบอกว่า กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา ต่างคนต่างมีเหตุผลและจุดยืน แต่ทั้งนี้อยากให้มองประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ
 


คำที่เกี่ยวข้อง : #เทคนิคการแพทย์   #ATK   #มาตรฐาน WHO   #โควิด-19  









©2018 CK News. All rights reserved.