ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลาน้ำจืด ได้โพสต์เฟซบุ๊กผ่านชื่อ Nonn Panitvong ให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับผลกระทบของการปล่อย "ปลาดุก" ลงในแม่น้ำส่งผลต่อระบบนิเวศคือ ปลาดุก 1 ตัน กินสัตว์น้ำประมาณ 1,800,000 ตัวต่อปี
ฉะนั้นปลาดุกที่นิยมเลี้ยงเพื่อนำมาเป็นอาหารในปัจจุบันในประเทศไทย เป็นปลาดุกลูกผสมที่เกิดจากปลาดุกยักษ์จากทวีปแอฟริกาและปลาดุกอุย ลูกปลาที่เกิดมาเป็นปลาลูกผสมที่ถือว่าเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เรียกชื่อทางการค้าว่าปลาดุกบิ๊กอุย ได้ปลาที่โตเร็ว มีเนื้อดีพอสมควรและเป็นหมัน การใช้ประโยชน์คือนำมาบริโภคตามจุดประสงค์ที่ถูกเลี้ยงขึ้นมา ในปัจจุบันมีผู้นิยมนำปลาดุกบิ๊กอุยไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติของประเทศไทยเพื่อทำบุญ แต่การกระทำดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่นั้นๆ โดยผมจะขอยกตัวอย่าง ในกรณีที่ปลาดุกที่ถูกเลี้ยงมาในที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปตลอดชีวิตสามารถปรับตัวหัดหาอาหารเองในธรรมชาติเป็น ไม่ถูกใครจับไปเสียก่อน
กระทั่งโพสต์ของ ดร.นณณ์ ได้ถูกแชร์ต่อไปอย่างมากในโลกโซเชียล ซึ่งมีการตั้งคำถามกลับมา เช่น ไม่ปล่อยปลาดุกแล้วจะให้ปล่อยอะไร? ท่าน ดร.นณณ์ จึงอธิบายต่อว่า ไม่ต้องปล่อยอะไรครับ ปลาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ออกลูกคราวละมากๆ อยู่แล้ว ถ้าระบบนิเวศสมบูรณ์ ปลาเพิ่มจำนวนจนเต็มพื้นที่เร็วมาก ดังนั้นถ้าคุณอยากช่วยปลา ช่วยกันดูแลคุณภาพให้ดี อย่าทิ้งขยะลงในน้ำ ช่วยกันต่อต้านโครงการทำลายระบบนิเวศในน้ำอย่างการ สร้างเขื่อน สร้างฝาย ขุดตลิ่ง ทำให้ปลามีที่อยู่ที่ดี เดี๋ยวปลาออกลูกออกหลานเพิ่มจำนวนขึ้นและชนิดตามความเหมาะสมของระบบนิเวศเองครับ
©2018 CK News. All rights reserved.