เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มีมติต่ออายุพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ไปจนถึงวันที่ 31 ส.ค.2563 ตามที่ สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) เสนอ
โดยสมช.ระบุว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ในภาพรวมทั่วโลก ยังคงมีการระบาดที่รุนแรง อีกทั้ง มีคนไทยจากต่างประเทศและชาวต่างชาติ ที่ได้รับการผ่อนผันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ จะมีการอนุญาตชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพิ่มเติม นอกจากนี้ มาตรการผ่อนคลายภายในประเทศที่ดำเนินการอยู่ เป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรค จึงมีความจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลโดยเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเข้มงวดและต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิด การระบาดของโรคภายในประเทศ
1.จำเป็นต้องมีอำนาจตามกฎหมายเชิงป้องกันในการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ อาทิ การควบคุมการเดินทางเข้า ออกราชอาณาจักรในทุกช่องทาง การจัดทำระบบติดตามตัว การกักตัว และการเฝ้าระวังบุคคลต้องสงสัย และ มาตรการการควบคุมโรคที่สามารถบังคับใช้ ได้อย่างครอบคลุมในทุกกิจกรรม/กิจการที่เกี่ยวข้อง
2.ความจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครฐั และภาคเอกชน ในการขอใช้สถานที่เป็นต้องมีระบบการบริหารจัดการวิกฤติการณ์ในลักษณะการรวมศูนย์ที่ปฏิบัติงานอย่างรวดเร็ว เป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการบูรณาการกำลังพลเรือนและทหารเข้าร่วมปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับประเทศในช่วง การเปลี่ยนผ่านไปสู่ฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) จนกว่าจะมีกฎหมายฉบับอื่นมารองรับในอนาคต.
©2018 CK News. All rights reserved.