หมอมาบอกเอง! เผยวิธีการเดินที่ช่วยเผาผลาญ "แคลอรี" ได้ไม่แพ้วิ่ง ทำเอาต้องลองทำตาม


13 พ.ค. 2563, 12:28

หมอมาบอกเอง! เผยวิธีการเดินที่ช่วยเผาผลาญ "แคลอรี" ได้ไม่แพ้วิ่ง ทำเอาต้องลองทำตาม




วันนี้ (13 พ.ค.63) นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่อมไทรอยด์ เต้านม ได้โพสต์เฟซบุ๊กผ่านชื่อ "บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr..Adune" ซึ่งเกี่ยวกับการเดินอย่างไร ที่สามารถช่วยเผาผลาญปริมาณแคลอรีได้ไม่แพ้การวิ่งเลยทีเดียว โดยระบุว่า

-นำเรื่องมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง ยามที่คนมาออกกำลังกายในสวนสาธารณะยุคหลัง covid-19 กังวลว่า วิ่งดี หรือ เดินดี... บทความ post ตั้งแต่ January 21, 2018
#เดินเร็วกับวิ่งเผาผลาญพลังงานพอกัน

-ในยุคที่คนห่วงสุขภาพ ลดน้ำหนัก และมองหาการออกกำลังกาย อาจจบด้วยข้อความที่ว่า ไม่ได้ออกกำลังกาย เพราะวิ่งไม่ไหว ปวดเข่า .. มาดูครับว่า ความจริงเป็นเช่นไร
-ในสามัญสำนึก เรามักจะรู้สึกว่า การวิ่งน่าจะเผาผลาญพลังงานได้มากกว่าการเดิน เพราะเห็นคนวิ่งแล้วเหงื่อออก แถมยังมี ชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพ จัก event กันมากมาย ดังนั้น ภาพในความรู้สึก ในสื่อ ทำให้เราเข้าใจว่า ถ้าจะเผาผลาญพลังงานเพื่อลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพ ต้องวิ่ง ถึงจะดี แต่จากข้อมูลการใช้พลังงาน (ดังรูป) ซึ่งเป็นการวัดการใช้พลังงานต่อ ชั่วโมงของคนหนัก 130 ปอนด์ (60 กิโลกรัม) จะพบว่า การเดินเร็วที่ ความเร็ว 5 ไมล์/ชั่วโมง (8 กิโลเมตร/ชั่วโมง) จะใช้พลังงานเท่ากัน ใน 1 ชั่วโมง เท่ากับการวิ่งที่ความเร็วเดียวกัน ถ้าดูจากกราฟ จะพบว่า การวิ่งที่ความเร็วเพิ่มขึ้นใช้พลังงานมากขึ้น ใน 1 ชั่วโมง ... ข้อความนี้ สนับสนุนความเชื่อแรกของเราใช่ไหมครับ ว่า วิ่งใช้พลังงานมากกว่าเดิน

-แต่พอมาดูรายละเอียด กลับพบว่า การเดินขึ้นเนิน ที่ความเร็ว 3.5 ไมล์/ชั่วโมง (5.6กิโลเมตร/ชั่วโมง) และการวิ่งทางราบ ความเร็ว 5 ไมล์/ชั่วโมง (8 กิโลเมตร/ชั่วโมง) จะใช้พลังงาน เท่ากับการวิ่ง ที่ความเร็วอื่นๆ ในระยะทางที่เท่ากัน (ใช้พลังงาน ต่อ ระยะทางเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมาก) ... น่าสนใจนะครับ แสดงว่า การวิ่งไม่ได้ใช้พลังงานมากกว่าเลยครับ เพียงแต่ว่า การวิ่งจะได้ระยะทางที่เท่ากัน และ ใช้พลังงานที่เท่ากันในเวลาที่สั้นกว่าเท่านั้นเอง วิ่งยิ่งเร็ว ยิ่งใช้เวลาน้อย ทำให้เวลาที่เท่ากัน จะเผาผลาญพลังงานมากกว่า

-การเผาผลาญพลังงาน หรือ การออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพ จึงจะใช้วิธีเดินหรือวิ่งก็ได้ ได้ผลเท่ากัน เพียงแต่ว่า การเดิน จะใช้เวลามากกว่า ...ข้อมูลบอกเราว่า เดินหรือวิ่งให้ได้ระยะทางเท่ากัน ด้วยความเร็ว 5.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ถ้าเดินขึ้นเนิน) หรือ 8 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ถ้าเดินปกติ) เท่านี้ ก็ได้ผลเท่ากับคนวิ่งเร็วๆ ครับ ดังนั้น ไม่ต้องวิ่ง ไม่ต้องกังวลเรื่องการปวดเข่า ไม่ต้องกังวลว่าน้ำหนักตัวมาก ทำไม่ไหว ... สำคัญที่ว่า เมื่อเราต้นทุนน้อย ก็ใช้เวลาเยอะหน่อย ไม่ต้องไปแข่งกับคนต้นทุนเยอะ ที่เขาสามารถวิ่งได้อย่างรวดเร็วครับ ... ทำไปเรื่อยๆ ได้ผลเหมือนกันครับ ... เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ ทำให้สม่ำเสมอ ทำให้ต่อเนื่อง แล้วดีต่อสุขภาพครับ

 



เครดิต :  บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune












©2018 CK News. All rights reserved.