เกษตรเชียงใหม่กำชับ จนท.เร่งสำรวจพื้นที่เสียหาย เร่งเยียวยาเกษตรกรจากอุทกภัย


16 ต.ค. 2567, 08:00

เกษตรเชียงใหม่กำชับ จนท.เร่งสำรวจพื้นที่เสียหาย เร่งเยียวยาเกษตรกรจากอุทกภัย




 

วันที่ 15 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00 น. นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ พร้อม  นางมัฑนา ธรรมใจ เกษตรอำเภอสารภี ติดตามช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วม ในพื้นที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 

     สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ให้สำนักงานเกษตรอำเภอที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วมจัดตั้งศูนย์อำนวยการร่วมกับจังหวัดและอำเภอ พร้อมทั้งมีมาตรการแจ้งเตือนเกษตรกรก่อนน้ำท่วม ระหว่างน้ำท่วม และหลังน้ำท่วม และห้วงเวลาน้ำท่วมได้ร่วมกับทุกภาคส่วนช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการสนับสนุนโรงครัวพระราชทาน ตลอดจนร่วมสนับสนุนวัตถุดิบทางการเกษตรจากเกษตรกรในพื้นที่น้ำไม่ท่วม เช่น ฟักทอง ฟัก ผักกะหล่ำปลี จากอำเภออมก๋อย เป็นต้นพร้อมกันนี้ได้ให้เตรียมพืชผักไว้สนับสนุนแก่เกษตรกร และน้ำหมักเพื่อย่อยสลายจุลินทรินทรีย์ แก่ เกษตรหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน เพื่อใช้หลังน้ำลดเพื่อบรรเทาน้ำเน่าเหม็นในเขตเมืองซึ่งอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคในพื้นที่ และการปรับโครงสร้างดินควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน โดยใช้เชื้อราไตรโคคเดอร์มา

    และอีกมาตรการที่สำคัญคือหากน้ำลดแล้วให้อำเภอสำรวจความเสียหายผลผลิตของเกษตรกรจากภัยธรรมชาติครั้งนี้โดยเร่งด่วน โดยจังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ประสบภัยที่แจ้งเข้ามาแล้วจำนวน 22 อำเภอ 151 ตำบล 859 หมู่บ้าน ความเสียหายเบื้องต้น 8,935 ราย พื้นที่ประมาณ 30,359 ไร่ เป็นนาข้าว 19,184 ไร่ พืชไร่และพืชผัก 6,212 ไร่ ไม้ผลและยืนต้น 4,962 ไร่ ซึ่งอยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายดังที่อำเภอสารภีแห่งนี้ ที่เป็นแหล่งผลิตลำไยที่สำคัญแห่งหนึ่งมีพื้นที่ปลูก 19,581 ไร่ พื้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบประมาณ​ 6,000 ไร่ ซึ่งให้เจ้าหน้าที่ออกสำรวจให้แล้วเสร็จภายใน30วัน​ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือโดยผ่านคณะกรรมการระดับตำบล อำเภอ จังหวัด โดยเกษตรกรจะต้องผ่านการขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรอำเภอ​ กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งไม้ผลจะได้รับการช่วยเหลือ 4,048 บาท/ไร่ พืชผักพืชไร่ 1,980บาท/ไร่ ข้าว1,340บาท/ไร่ แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ ส่วนการฟื้นฟูไม้ผลหลังน้ำลดให้ตัดแต่งกิ่งที่เสียหาไม้ค้ำยันไว้ ให้ให้ตั้งตรง ในช่วง 5 วันแรก ไม่ควรน้ำหรือปุ๋ยยาต่างๆ และไม่เหยียบย่ำบริเวณราก เมื่อต้นไม้เริ่มฟื้นตัวแล้วจึงให้น้ำแต่น้อย ๆ แล้วควรให้ปุ๋ยและฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของรากและปรับปรุงดินด้วยไตรโครเดอร์ม่าปรับปรุงสภาพดิน ในอัตราเชื้อราไตรโคเดอร์มา สด 1 กิโลกรัมรำละเอียด 5กิโลกรัม ปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัมใช้รองก้นหลุม หว่าน หรือโรยรอบบริเวณโคน : ไม้ผลหรือไม้ยืนต้นใช้ 3 - 5 กิโลกรัมต่อต้น หากต้องการสอบภามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ/ สำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่าน หรือหมายเลขโทรศัพท์ 0-5311-2478-79



 












©2018 CK News. All rights reserved.