1. อุทกภัย วันที่ 11 ตุลาคม 2567 เวลา 06.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอสรุปรายงานเหตุอุทกภัย ระหว่างวันที่ 16 ส.ค. - 11 ต.ค. 67 มีสถานการณ์ในพื้นที่ 45 จ. (เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ หนองคาย นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี ปราจีนบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ปทุมธานี ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง สตูล สงขลา) 279 อ. 1,238 ต. 6,463 ม. บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 253,454 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต จากอุทกภัย 29 ราย (เชียงราย 12 ราย เชียงใหม่ 2 ราย พะเยา 4 ราย ลำปาง 3 ราย น่าน 3 ราย แพร่ 2 ราย สุโขทัย 2 ราย สงขลา 1 ราย ผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง) มีผู้เสียชีวิตจากดินถล่ม 23 ราย (เชียงราย 4 ราย เชียงใหม่ 6 ราย ภูเก็ต 13 ราย) รวมผู้เสียชีวิต 52 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 28 ราย
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 15 จ. (เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์ สุโขทัย อุดรธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม) 60 อ. 306 ต. 1,523 ม. บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 51,954 ครัวเรือน ดังนี้
1.1 จ.เชียงราย วันที่ 10 ก.ย. 67 จากอิทธิพลร่องความกดอากาศต่ำที่สลายตัวจากพายุไต้ฝุ่นยางิ
ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 6 อ. 17 ต. 80 ม. ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมืองฯ อ.แม่ลาว อ.เวียงป่าเป้า อ.เวียงชัย อ.เชียงแสน เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 1,046 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 14 ราย (จากเหตุดินถล่ม อ.แม่ฟ้าหลวง 4 ราย และน้ำไหลหลาก อ.แม่ฟ้าหลวง 1 ราย อ.แม่สาย 8 ราย อ.เมืองฯ 1 ราย) และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย ปัจจุบันอยู่ระหว่างฟื้นฟู
1.2 จ.เชียงใหม่ วันที่ 4 ต.ค. 67 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 4 อ. 24 ต. 166 ม. ได้แก่
อ.สารภี อ.หางดง อ.สันป่าตอง อ.เมืองฯ เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 2,927 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ปัจจุบันปัจจุบันอยู่ระหว่างฟื้นฟู
1.3 จ.ลำพูน วันที่ 23 ก.ย. 67 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมใน 1 อ. 7 ต. 42 ม. ได้แก่ อ.เมืองฯ เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 2,369 ครัวเรือน ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
1.4 ) จ.ลำปาง วันที่ 2-3 ต.ค. 67 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 1 อ. 1 ต. 1 ม. ได้แก่ อ.แม่พริก เบื้องต้นอยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายเพิ่มเติม ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
1.5 จ.ตาก วันที่ 19-25 ก.ย. 67 เกิดฝนตกหนักทำให้แม่น้ำวังล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อ. 7 ต.
47 ม. ได้แก่ อ.สามเงา อ.บ้านตาก เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 2,542 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
1.6 จ.พิษณุโลก วันที่ 25 ส.ค. 67 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำยมล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 7 อ. 27 ต. 104 ม. ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมืองฯ อ.บางกระทุ่ม อ.วังทอง อ.วัดโบสถ์ อ.นครไทย เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบรวม 1,749 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
1.7 จ.สุโขทัย วันที่ 24 ก.ย. 67 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 7 อ. 19 ต. 77 ม. ได้แก่ อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง อ.เมืองฯ อ.ศรีสัชนาลัย อ.กงไกรลาศ อ.คีรีมาศ อ.ทุ่งเสลี่ยม เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 3,053 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
1.8 จ.นครสวรรค์ วันที่ 5 ต.ค. 67 เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 1 อ. 2 ต. 2 ม. ได้แก่ อ.เมืองฯ เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 70 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
1.9 จ.อุดรธานี วันที่ 23 ก.ย. 67 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อ. 9 ต. 25 ม. ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.สร้างคอม เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 198 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
และเสียชีวิตปัจจุบันระดับน้ำลดลง
1.10 จ.ชัยนาท วันที่ 8 ต.ค. 67 เขื่อนเจ้าพระยามีการระบายน้ำเพิ่มขึ้นทำให้น้ำในแม่น้ำล้นตลิ่ง
เข้าท่วมในพื้นที่ 4 อ. 16 ต. 49 ม. ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.มโนรมย์ อ.วัดสิงห์ อ.สรรพยา เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 588 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
1.11 จ.สิงห์บุรี วันที่ 3 ต.ค. 67 เขื่อนเจ้าพระยามีการระบายน้ำเพิ่มขึ้นทำให้น้ำในแม่น้ำล้นตลิ่ง
เข้าท่วมในพื้นที่ 3 อ. 4 ต. 14 ม. ได้แก่ อ.อินทร์บุรี อ.เมืองฯ อ.พรหมบุรี เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 526 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
1.12 จ.สุพรรณบุรี วันที่ 3 ก.ย. 67 เขื่อนเจ้าพระยามีการระบายน้ำเพิ่มขึ้นทำให้น้ำในแม่น้ำล้นตลิ่ง
เข้าท่วมในพื้นที่ 8 อ. 43 ต. 211 ม. ได้แก่ อ.เดิมบางนางบวช อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง อ.ศรีประจันต์
อ.สามชุก อ.เมืองฯ อ.อู่ทอง อ.ดอนเจดีย์ เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 6,892 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
1.13 จ.อ่างทอง วันที่ 29 ก.ย. 67 เขื่อนเจ้าพระยามีการระบายน้ำเพิ่มขึ้นทำให้น้ำในแม่น้ำน้อยล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 4 อ. 20 ต. 66 ม. ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ อ.ไชโย อ.เมืองฯ อ.ป่าโมก เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 997 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
1.14 จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 2 ก.ย. 67 เขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำมากขึ้นทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 7 อ. 100 ต. 591 ม. ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.บางไทร อ.บางปะหัน เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 28,352 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
1.15 จ.นครปฐม วันที่ 6 ต.ค. 67 เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อ. 10 ต. 48 ม. ได้แก่
อ.นครชัยศรี อ.บางเลน อ.กำแพงแสน เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 645 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
2. การให้ความช่วยเหลือ
- สนง.ปภ.จ. หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ อปท. จิตอาสา อปพร.อาสาสมัคร มูลนิธิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสำรวจความเสียหายให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมมอบอาหาร น้ำดื่ม ขนย้ายสิ่งของยกของขึ้นที่สูงและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตได้สนับสนุน เครื่องจักรกลสาธารณภัย ให้กับจังหวัดที่ประสบอุทกภัย จำนวน 174 หน่วย ประกอบด้วย 1) รถปฏิบัติการ เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย 32 คัน 2) เรือท้องแบนกู้ภัย 59 ลำ 3) เครื่องสูบน้ำ 14 นิ้ว 16 เครื่อง 4) รถบรรทุกเครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล 4 คัน 5) รถขุดไฮดรอลิค 1 คัน 6) รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน 7) รถปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัยพร้อมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 4 คัน เรือพลาสติก 13 ลำ 9) รถบรรทุกพร้อมเรือยนต์เคลื่อนที่เร็ว 12 ชุด 10) รถบรรทุกน้ำขนาด 12,000 ลิตร 2 คัน 11) รถบรรทุกขนาดเล็ก 12 คัน 12) รถประกอบอาหาร 3 คัน 13) รถบรรทุกติดตั้งสูบน้ำท่วม/ขัง 1 คัน 14) รถบรรทุกติดตั้งเครน 15 ตัน 2 คัน 15) รถสูบน้ำเคลื่อนที่แบบ โมบายยูนิต 3 คัน 16) รถดับเพลิงพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 2คัน 17) รถบรรทุกน้ำมัน 1 คัน 18) รถหัวลากจูง 2 คัน 19) รถเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 200 KVA 2 คัน 20) รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว 2 คัน 21) ถุงยังชีพ 9,000 ถุง
3. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กลาง (กอปภ.ก.) ได้สั่งการให้หน่วยงานเกี่ยวข้อง ดำเนินการ ดังนี้
3.1 แจ้งเตือน ภาคเหนือ ทุกจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกจังหวัด ภาคกลาง ทุกจังหวัด ภาคใต้ จ.ชุมพรรวมทั้งกรุงเทพมหานคร ติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า
3.2 จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามข้อมูลสภาพอากาศ สถานการณ์ น้ำฝน น้ำท่า หอเตือนภัย ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการสื่อสารแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
3.3 จังหวัดเร่งสำรวจความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
3.4 ให้รายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะยุติ
©2018 CK News. All rights reserved.