วันที่ 8 พฤษภาคม 2567 สำนักงาน ป.ป.ส. โดย พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ป.ป.ส. ร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมการปกครอง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงนามข้อตกลงความร่วมมือภายใต้โครงการ ปลุกพลังนิคมอุตสาหกรรม ร่วมต้านภัยยาเสพติด โดยมี นางบุปผา กวินวศิน รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สายงานพัฒนาที่ยั่งยืน) นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง นางโสภา เกียรตินิรชา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายแพทย์กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศรี ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมลงนามข้อตกลง ณ ห้องประชุมชิดชัย วรรณสถิตย์ สำนักงาน ป.ป.ส.
โครงการปลุกพลังนิคมอุตสาหกรรม ร่วมต้านภัยยาเสพติด เป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดไม่ให้แพร่ระบาดเข้าสู่สถานประกอบการ พร้อมทั้งสนับสนุนให้
สถานประกอบการมีระบบดูแล ช่วยเหลือ ลูกจ้าง นำลูกจ้างเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษายาเสพติด และรับกลับเข้าทำงาน พร้อมทั้งให้โอกาสผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติดมีโอกาสเข้าทำงาน ซึ่งการป้องกันยาเสพติดในกลุ่มผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการที่นับเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศชาติ จึงกำหนดให้มีการขับเคลื่อนและบูรณาการทำงานร่วมกันในระดับนโยบาย ระหว่าง 7 หน่วยงานขึ้น
พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวว่า กลุ่มผู้ใช้แรงงานนับเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ และเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะ เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ขณะเดียวกันก็เป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความสำคัญยิ่ง ในการพัฒนาประเทศชาติปัจจุบันมีแรงงานในระบบจำนวน 19.4 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานที่อยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม จำนวนกว่า 1 ล้านคน ซึ่งเพื่อให้เกิดมีมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในนิคมอุตสาหกรรม ทั้ง 7 หน่วยงานจึงได้มีข้อตกลงที่จะให้เกิด โครงการปลุกพลังนิคมอุตสาหกรรม ร่วมต้านภัยยาเสพติด ขึ้น ซึ่งเพื่อบรรลุเป้าหมายโครงการ คือ สถานประกอบการในทุกนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และเกิดความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและหน่วยงานรัฐในการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายของรัฐบาล แต่ละหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการจะขับเคลื่อนงานในบทบาทของหน่วย คือ
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ถือเป็นหน่วยที่รับผิดชอบดูแลแรงงาน และ ยังเป็นที่ตั้งของสถานประกอบการทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จะมีบทบาทสำคัญในการประสาน ความร่วมมือกับผู้ประกอบการ และปลุกพลังให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานร่วมกัน ป้องกันและแก้ไขปัญหา
ยาเสพติด และหน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ กรมการปกครอง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีบทบาทในการ
ร่วมดำเนินการค้นหา เฝ้าระวัง และสร้างการมีส่วนร่วมของ ผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชนในการร่วมเฝ้าระวังปัญหา ยาเสพติดในพื้นที่นิคม อุตสาหกรรมและชุมชนโดยรอบ โดยมีหน่วยงานสาธารณสุข ได้แก่ สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์ ให้การสนับสนุน ให้ค้นหา คัดกรอง และให้คำปรึกษาแนะนำในการประสาน ส่งต่อผู้เสพ/ผู้ติดให้ได้เข้ารับ การบำบัดอย่างเหมาะสม - สำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือ พร้อม ให้การสนับสนุนทุกหน่วยงานในการดำเนินงาน ทั้งในระดับนโยบาย และมี สำนักงาน ปปส.ภาค 1 – 9 / กทม. สนับสนุนการดำเนินงานในระดับพื้นที่
พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ กล่าวว่า การบูรณาการความร่วมมือในครั้งนี้เน้นให้เจ้าของสถานประกอบการดำเนินการค้นหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดในสถานประกอบการเพื่อส่งเสริมให้เข้ารับการบำบัดรักษาอย่างเหมาะสม ที่สำคัญอีกอย่างคือการสนับสนุนให้สถานประกอบการให้โอกาสแก่ผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดกลับเข้าทำงาน โดยในอดีต ผู้เสพ
ยาเสพติดมักถูกตีตราและไม่ได้รับโอกาสให้เข้าทำงานในสถานประกอบการ ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นตามมา คือ
การกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำ ปัญหาครอบครัวขาดรายได้ การผันตัวจากผู้เสพไปเป็นผู้ค้าเสียเอง ซึ่งตามนโยบายเปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วยของรัฐบาล ภายใต้การนำของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต้องแบ่งประเภทระหว่างผู้เสพกับผู้ค้าซึ่งผู้เสพคือผู้ป่วยเน้นการรักษา และให้โอกาสเพื่อคืนคนดีสู่สังคม ในขณะที่ผู้ค้ายาเสพติด ที่เป็นต้นตอของปัญหา ต้องลงโทษอย่างเด็ดขาด
©2018 CK News. All rights reserved.