วันที่ 21 ก.ย. 2566 น. พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในระบบศาล โดยมี รองเลขาธิการ ป.ป.ส. อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1-9 ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อธิบดีและหัวหน้าศาลทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุมกว่า 300 คน ณ ห้องประชุมแกรนด์ บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า การดำเนินงานให้คำปรึกษาด้านจิ
ตสังคมในระบบศาล เป็นนโยบายสำคัญของรั
ฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติ
ดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ที่กำหนดให้ศาลพิจารณาคดี
โดยคำนึงถึงการสงเคราะห์มากกว่
าการลงโทษจำคุก หรือเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการใช้
วิธีการเพื่อความปลอดภั
ยตามประมวลกฎหมายอาญา หรือการคุมประพฤติตามมาตรา 56 มาใช้แทนการลงโทษ หรือส่งตัวจำเลยเข้ารับการบำบั
ดรักษา ถือเป็นการจัดการปัญหายาเสพติ
ดโดยยึดหลักการ “เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย” อย่างมีประสิทธิภาพสามารถกลับสู่
สังคมอย่างมีคุณภาพ และพัฒนาทักษะความสามารถให้เข้
าสู่ภาคแรงงานต่อไป ถือเป็นหมุดหมายสำคัญในการขั
บเคลื่อนการดำเนินงานของคลินิ
กให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม และการแก้ปัญหายาเสพติ
ดของประเทศอย่างยั่งยืน
นายธนากร คัยนันท์ รองเลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวว่า สำนักงาน ป.ป.ส. มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการขั
บเคลื่อนการให้คำปรึกษาด้านจิ
ตสังคมในระบบศาลมาอย่างต่อเนื่
องตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้ความร่วมมือของสำนั
กงานศาลยุติธรรมและสำนักงาน ป.ป.ส. ผ่านบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่
วมมือเพื่อการดำเนินงานให้คำปรึ
กษาด้านจิตสังคมแก่ผู้ต้องหาหรื
อจำเลยคดียาเสพติดในระบบศาล ส่งผลให้ศาลทั่วประเทศเข้าร่
วมโครงการเป็นจำนวนมาก โดยในปี 2566 มีศาลจังหวัด ศาลแขวง ศาลเยาวชนและครอบครัว และศาลไม่สังกัดภาคทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการรวม 163 แห่ง โดยในปี 2567 มีเป้าหมายในการขยายเพิ่มเป็น 189 แห่ง ทั่วประเทศ
จากการประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
แนวทางการดำเนินที่
ประสบความสำเร็จจากผู้บริหารศาล ผู้พิพากษา และบุคลากรที่รับผิดชอบงานในแต่
ละศาลทั่วประเทศ รวมทั้งรับมอบนโยบายจากผู้บริ
หารสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อนำไปพัฒนาระบบการให้คำปรึ
กษาด้านจิตสังคมแก่ผู้ต้องหาคดี
ยาเสพติดและคดีความรุ
นแรงในครอบครัวให้มีประสิทธิ
ภาพมากยิ่งขึ้น โดยผู้ต้องหาที่เข้าร่
วมโครงการจะได้รับโอกาสในการให้
คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องจากนักจิ
ตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และบุคลากรที่มีความรู้
ความสามารถในการยุติหรือแก้ไขปั
ญหา ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้รับคำปรึ
กษาเข้าใจปัญหาสามารถตัดสิ
นใจแก้ไขปัญหา และพัฒนาตนเองด้วยวิธีการที่ถู
กต้องเหมาะสม ส่งผลให้ลดโอกาสที่ผู้กระทำผิ
ดไม่ร้ายแรงจะแปรสภาพเป็
นอาชญากร ได้ตระหนักและปรับเปลี่ยนชีวิต สามารถดำเนินชีวิตอยู่กั
บครอบครัว รวมถึงศึกษาต่อและประกอบอาชี
พได้ตามปกติ ลดการกระทำผิดซ้ำ ส่งผลต่อการแก้ปัญหานักโทษล้นคุ
กได้ ทั้งนี้ทุกคนสามารถร่วมเป็นส่
วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหายาเสพติ
ดได้ ด้วยการแจ้งเบาะแสยาเสพติด ผ่านสายด่วน ป.ป.ส. โทร. 1386 ฟรี 24 ชั่วโมง