จ.สุรินทร์ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมจัดตั้งเครือข่ายทางวัฒนธรรม ระหว่างไทย-ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 1 


25 ส.ค. 2566, 16:09

 จ.สุรินทร์ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมจัดตั้งเครือข่ายทางวัฒนธรรม ระหว่างไทย-ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 1 




วันที่ 24 สิงหาคม 2566 มูลนิธิส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมสุรินทร์ ได้รับการร้องขอให้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมจัดตั้งเครือข่ายทางวัฒนธรรม ระหว่างไทย-ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 1 และแสดงออกความร่วมมือกันสังเคราะห์ซอฟเพาเวอร์ ขึ้นระหว่าง 22 – 31  สิงหาคม 2566  โดยอธิการบดีแห่งรัฐในฟิลิปปินส์จำนวน 13 คน นำทีมผู้บริหารวัฒนธรรมระดับประเทศฟิลิปปินส์ จำนวน 25 คน รวม 38 คน มาร่วมงานที่จังหวัดสุรินทร์ โดยมีศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ภาณุรัตน์ ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมฆาลัย, อินเดีย ประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมสุรินทร์ และประธานโครงการเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย และ ดร.สมศรี บุญมี ศิษย์หลักสูตร RDS ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ นำคณะเดินทางไปที่ ศูนย์คชศึกษา เพื่อศึกษาดูงานหมู่บ้านช้าง ที่บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์

 และที่วัดป่าอาเจียง ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านคนเลี้ยงช้าง บ้านหนองบัว ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ เพื่อประชุมหารือเพื่อจัดตั้งเครือข่ายซอฟเพาเวอร์ทางวัฒนธรรมระหว่างวัดป่าอาเจียง และลงนามความเข้าใจ (MOU) กับมหาวิทยาลัยประเทศไทย 4 แห่ง, มหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์ 13 แห่ง และมูลนิธิฯ ในนามเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาวัดป่าอาเจียงเป็นศูนย์กลางทางศาสนา การศึกษาและวัฒนธรรม ทำงานแบบบวรมานาน โดยได้ส่งเสริมศาสนา วัฒนธรรรม เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว แบบมีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี และในการนี้ สาขาวิชาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ได้สังเคราะห์การวิจัยในดุษฏีนิพนธ์หลายเล่ม และจากสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปว่าควรประกาศให้ช้างเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพโลก  หลังจากเสร็จการสัมมนาฯ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เมื่อช่วงเช้า

ที่ศูนย์คชศึกษาฯ นายศิริศักดิ์ ร่วมพัฒนา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ก็ได้กล่าวต้อนรับ พร้อมพาคณะเข้าชมการแสดงของช้างภายในศูนย์คชศึกษา ซึ่งมีการแสดงของช้างหลายชุด เป็นที่ประทับใจของคณะอธิการบดีแห่งรัฐในฟิลิปปินส์เป็นอย่างมาก พร้อมกันนี้  ก็ได้มี นางสาวเมริกา ชนะกิจชินชน นางสาวสุรินทร์ ปี 2562 และเป็นผู้สร้างและกำกับภาพยนตร์ เรื่อง10+1 IN ELEPHANT WORLD Lซึ่งใช้เวลาสร้างนานถึง 3 ปี  เดินทางมาร่วมงาน เพื่อมารับมอบโล่รางวัลผู้นำเพชรแห่งเอเชีย จากอธิการบดีแห่งรัฐในฟิลิปปินส์ในวันนี้ด้วย

จากนั้น คณะก็ได้เดินทางต่อไปที่วัดป่าอาเจียง ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านคนเลี้ยงช้าง บ้านหนองบัว ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ โดยอยู่ห่างจากศูนย์คชศึกษาออกไปประมาณ 1 ก.ม. เพื่อประชุมหารือเพื่อจัดตั้งเครือข่ายซอฟเพาเวอร์ทางวัฒนธรรมระหว่างวัดป่าอาเจียงและลงนามความเข้าใจ(MOU.)กับมหาวิทยาลัยประเทศไทย 4 แห่ง, มหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์ 13 แห่ง และมูลนิธิฯในนามเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย พร้อมมอบโล่รางวัลผู้นำเพชรแห่งเอเชีย ให้แก่ นายก อบจ.สุรินทร์ และนางสาวเมริกา ชนะกิจชินชน นางสาวสุรินทร์ ปี 2562 ผู้สร้างและกำกับภาพยนตร์ เรื่อง 10+1 IN ELEPHANT WORLD  และมอบโล่รางวัลผู้ประกาศสันติภาพ ให้แก่ ดร.สุวัฒน์ อุ่นทานนท์ ศิษย์หลักสูตร RDS และ ดร.สมศรี บุญมี ศิษย์หลักสูตร RDS ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ โดยมี ดร.พระครูสมุห์หาญ ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าอาเจียง เมตตาเป็นประธานเปิดการประชุมฯ และการสัมมนาฯ ช้างสู่สัญลักษณ์แห่งสันติภาพโลก ผู้เกี่ยวข้องนำเสนอสุนทรพจน์เพื่อสันติภาพโลก ลงนามประกาศให้ช้างเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพโลก หลังจากเสร็จการประชุมและลงนามความเข้าใจ (MOU.)  ก็ได้มีการแสดงพื้นเมืองของชาวกูยหมู่บ้านคนเลี้ยงช้างบ้านหนองบัว จากนั้นก็ได้ร่วมกันถวายผ้าป่า โดยมีช้างมาร่วมถวายผ้าไตรด้วย  ก่อนที่จะรำวงร่วมกันอย่างสนุกสนาน และถ่ายภาพร่วมกันก่อนที่จะเดินทางกลับในเวลาต่อมา โดยจะมีการพบกันอีกครั้งที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในปีต่อไป





คำที่เกี่ยวข้อง : #สุรินทร์  









©2018 CK News. All rights reserved.