ตำรวจไซเบอร์แถลงปฏิบัติการยุบวงจร หลอกลงทุนกลุ่มอมตะ เสียหายหว่า 25 ล้าน


10 ก.ค. 2566, 22:20

ตำรวจไซเบอร์แถลงปฏิบัติการยุบวงจร หลอกลงทุนกลุ่มอมตะ เสียหายหว่า 25 ล้าน




วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. พร้อมด้วยพล.ต.ต.ไพโรจน์ สุขรวยธนโชติ รอง ผบช. สอท. , พล ต.ต. ฐายุฏฐ์ จันทร์ถาวร รอง ผบช.สอท ., พล.ต.ต. ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้าคคลึง ผบก.สอท.1 , พล.ต.ต. ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผบก ตอท. พล.ต.ต. ณัฐกร ประภายนต์ ผบก. สอท.2 , พ.ต.อ. สุวัฒชัย ศรีทองสุข ผบก.วิเคราะห์ข่าว และเครื่องมือพิเศษ บก.สอท.2 วิวัฒน์ กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่เทคนิควิศวกรรมและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย, พรรษา ใจชน ผู้จัดการฝ่ายที่ดินและประสานงานราชการ, มานะชัย ขาวประพันธ์ ซีเนียร์ Department manager-Company Secretary & lega , สกล แสงสุริยกาญจน์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ , จุติกุล เนตรอรุณ Public relation Exclusive  ร่วมแถลงผลการปฏิบัติการยุบวงจร หลอกลงทุนกลุ่มอมตะ”  มีเหยื่อถูกหลอกเข้าร่วมลงทุนเกือบ 200 ราย สร้างความเสียหายกว่า 25 ล้านบาท  ที่ชั้น2  บช.สอท. เมืองทองธานี  

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ภายใต้การอำนวยการ ของ พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้มอบหมายให้ พล.ต.ต.ไพโรจน์ สุขรวยธนโชติ รอง ผบช. สอท. ควบคุมสั่งการให้สืบสวนคดีในระบบแจ้งความออนไลน์ที่มีความเชื่อมโยงกันเป็น จำนวนมาก หรือในลักษณะเป็นเครื่อข่ายองกรค์อาชญากรรม ซึ่งได้ทำการตรวจพบกรณีมิจฉาชีพ แฝงตัวเข้ามาในกลุ่มเทรดหุ้นของกลุ่มอมตะ 

สืบเนื่องจากมีมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาในกลุ่มเทรดหุ้นของ กลุ่มอมตะ โดยมิจฉาชีพจะแอดไลน์ เข้ามาอ้าง ตัวเป็นโบรคเกอร์ โดยใช้ชื่อไลน์แตกต่างกันไป อาทิเช่น amata4978, amataservice7891, service worker, Amata2788, Inmot_88 เป็นต้น เข้ามาพูดคุยเรื่องการลงทุนระยะสั้น จากนั้นได้แจ้งผลกำไร แล้วแจ้งให้ผู้เสียหาย โอนเงินเพื่อจ่ายภาษีจากผลกำไร โดยให้ ผู้เสียหาย โอนเงินผ่านบัญชีม้า ซึ่งมิจจาชีพจะใช้รูปโฆษณาในเพจเฟซบุ๊คเพื่อชักชวนให้ลงทุนกับกองทุน อมตะ โดยมีภาพคุณวิกรม กรมดิษฐ์ (กรรมการผู้จัดการและกรรมการบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA ) ทำให้ดูน่าเชื่อถือและหลงเชื่อว่ามีผลตอบแทนที่ดี จึงติดต่อไปยัง แอดมินเฟซบุ๊ค มิจฉาชีพ และมีการแอดไลน์พูดคุย เชิญชวนให้เปิดพอร์ตแบบระยะสั้น ให้ทำการ โอนเงินครั้งแรกจำนวนน้อยๆก่อน และให้ทำการเทรดจำนวนหลายครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งจะให้โอน เงินเติมเข้าพอร์ตการลงทุนจากหลักพันบาทในครั้งแรก และค่อยๆให้โอนเพิ่มเติมถึงหลักแสนบาท โดยจะแสดงผลกำไรและแจ้งกลับมาให้ผู้เสียหายดีใจ ตื่นเต้น หลงเชื่อ เมื่อผู้เสียหายขอปิดบัญชี เพื่อเบิกเงินออกมา มิจฉาชีพจะแจ้งว่าต้องเสียค่าภาษี ค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นเงินหลักแสนอีก เมื่อผู้เสียหายไม่โอนเงิน ทางมิจฉาชีพมีการต่อว่า และตัดการติดต่อไป ซึ่งมิจฉาชีพมีการ หลอกลวงผู้เสียหายจำนวนหลายราย ได้ทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก 
         

ทั้งนี้มีผู้เสียหายที่เข้า สียหายที่เข้าแจ้งความ 185 คน รวมมูลค่าความเสียหาย กว่า 25.9 ล้านบาท ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการสืบสวนสอบสวน พบว่าในขณะนี้มีผู้ที่เกี่ยวข้องในการกระทำ ความผิดจำนวนหลายราย จึงขออนุมัติศาลออกหมายจับและได้ขยายผลจับกุมผู้ต้องหาได้แล้ว หลายราย ซึ่งมีความเชื่อมโยงในการกระทำความผิดในรูปแบบเดียวกันหลายคดี ส่วนผู้ต้องหาที่ เหลือ เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังเร่งติดตามตัวและเร่งขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้กระทำความผิด ต่อไป





คำที่เกี่ยวข้อง : #ตำรวจไซเบอร์  









©2018 CK News. All rights reserved.